วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีแห่นก

                                                       ประเพณีเเห่นก

                                     


    
ดูรูปภาพ ประเพณีการแห่นก
ความสำคัญของประเพณีการแห่นก
ประเพณีการแห่นก เป็นประเพณีการทางพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่นราธิวาส ซึ่งได้มีการกระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์ แต่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง เป็นการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในศิลปะและอาจจัดขึ้นในการแสดงความคารวะ แสดงความจงรักภักดี แก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือในโอกาสต้อนรับแขกเมือง บางทีอาจจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในพิธีการเข้าสุนัต หรือที่เรียกว่า "มาโซยาวี" หรือจัดขึ้นเพื่อประกวดเป็นครั้งคราว นกที่นิยมทำขึ้นเพื่อการแห่มีเพียง ๔ ตัว คือ
๑. นกกาเฆาะซูรอหรือ นกกากะสุระ นกชนิดนี้ตามสันนิษฐานคือ "นกการเวก" เป็นนกสวรรค์ที่สวยงามและบินสูงเทียมเมฆการประดิษฐ์มักจะตบแต่งให้มีหงอนสูงแตกออกเป็น ๔ แฉก นกชนิดนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "นกทูนพลู" เพราะบนหัวมีลักษณะคล้ายบายศรีพลู และมีการทำให้แปลกจากนกธรรมดา เพราะเป็นนกสวรรค์
๒. นกกรุดา หรือ นกครุฑ มีลักษณะคล้ายกับครุฑ เชื่อกันว่านกชนิดนี้มีอาถรรพ์ ผู้ทำมักเกิดอาเพศ มักเจ็บไข้ได้ป่วย ในปัจจุบันจึงไม่นิยมจัดทำนกชนิดนี้ ในขบวรแห่
๓. นกบือเฆาะมาศ หรือนกยูงทอง มีลักษณะคล้ายกับนกกาเฆาะวูรอ มีหงอน สวยงามเป็นพิเศษ ชาวไทยมุสลิมยกย่องนกยูงทองมาก และไม่ยอมบริโภคเนื้อ เพราะเป็นนกที่รักขน การประดิษฐ์ตกแต่งรูปนกพญายูงทองนั้น จึงมีการตกแต่งที่ประณีตถี่ถ้วนใช้เวลามาก
๔. นกบุหรงซีงอ หรือนกสิงห์ มีรูปร่างคล้ายราชสีห์ ตามคตินกนี้มีหัวเป็นนก แต่ตัวเป็นราชสีห์ ปากมีเขี้ยวงาน่าเกรงขาม

ช่วงเวลาในการจัดประเพณีการแห่นก
ในการแห่นกนั้นได้มีการจัดขึ้น ในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง หรือในโอกาสการต้อนรับแขกเมืองของชาวนราธิวาส และยังจัดในพิธีการเข้าสุหยัด

พิธีกรรมในการแห่นก
ประเพณีการแห่นกนั้น สันนิษฐานว่า จะมีพิธีกรรมบางอย่าง เช่น การตั้งพิธีสวดมนต์ตามวิธีการทางไสยศาสตร์ เพื่อขับไล่หรือขจัดปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย ให้หมดสิ้นไปให้มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า

สาระของประเพณีการแห่นก
ประเพณีการแห่นกนั้นนอกจากที่ให้ความสนุกสนานแล้ว ยังให้คติ ความเชื่อ ความรัก ความสามัคคี และความเชื่อในการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ร่วมพิธีในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ และเป็นการอนุรักษ์ให้ประเพณีแห่นกยังคงอยู่สืบเนื่องต่อไป

ประเพณีตับาตรธูปเทียน

                                      
                                        ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

                                   

ช่วงเวลา ระยะเวลาของการประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียนมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนแปด เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา ใช้ลานภายในวัดเป็นสถานที่ตักบาตรธูปเทียน

ความสำคัญ
เป็นการทำบุญด้วยธูปเทียนและดอกไม้ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษา ได้นำธูปเทียนใช้บูชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษา ๓ เดือน

พิธีกรรม
วันประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียน เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มพิธีเข้าพรรษา พิธีการตักบาตรธูปเทียนจึงเริ่มในตอนบ่าย โดยพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ต่างพากันมายืนเรียงแถวในบริเวณลานวัด โดยมีย่ามคล้องแขนทุกรูป เพื่อเตรียมบิณฑบาต เมื่อถึงเวลาบ่ายประมาณ ๑๖ นาฬิกา พุทธศาสนิกชนจะนำธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และดอกไม้ มาใส่ย่ามถวายพระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี

สาระ
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อประเพณีตักบาตรธูปเทียน เป็นประเพณีที่ควรแก่การส่งเสริมให้คงอยู่ การตักบาตรธูปเทียนให้สาระสำคัญดังนี้
๑. สะท้อนให้เห็นถึงความยึดมั่นและศรัทธาในการนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามควรรักษาประเพณีไว้สืบไป ชาวนครศรีธรรมราชจึงเตรียมมัดธูป ๓ ดอกและเทียน ๑ เล่มไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการตักบาตร แต่คนส่วนใหญ่จะใช้ธูปและเทียนมัดใหญ่ เพื่อให้พระสงฆ์มีธูปเทียนใช้ตลอดพรรษา และสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือไม้ขีดไฟ เป็นของเสริม เพื่อให้พระสงฆ์มีอุปกรณ์ครบ รวมทั้งดอกไม้สดชนิดต่าง ๆ
๒. เป็นการอบรมให้ลูกหลานที่ไปร่วมพิธีตักบาตรธูปเทียนได้มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีท้องถิ่น และให้ความสุขใจจากบุญกุศลที่ได้ทำ

ประเพณีถือศีลกินเจ

                                               ประเพณีถือศีลกินเจ

                                    


ช่วงเวลา
การถือศีลกินเจของชาวตรังตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมทุกปี) โรงศาลเจ้าทุกโรงจะกำหนดการกินเจพร้อมกัน การประกอบพิธีกรรมจะใช้สถานที่บริเวณโรงศาลเจ้าของแต่ละแห่ง

ความสำคัญ
พิธีถือศีลกินเจจะเป็นพิธีที่มีความสำคัญดังนี้
๑. เป็นการบำเพ็ญศีล สมาทานกินเจ บริโภคแต่อาหารผักและผลไม้ เป็นการละเว้นการทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รักษาศีลทำจิตใจให้บริสุทธิ์ งดการเที่ยวเตร่ ไม่ดื่มของมึนเมา ผู้ศรัทธาที่กินเจจะสวมเสื้อผ้าสีขาวและสวดมนต์ทำสมาธิภาวนาแผ่เมตตาจิต ขอพรให้ตนเองและครอบครัว
๒. เป็นการสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าความชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บให้ออกไปจากตัวผู้ที่ถือศีลกินเจ
๓. เกิดความสามัคคีในหมู่ผู้ที่ศรัทธาที่เข้าร่วมพิธีถือศีลกินเจ ต่างก็ยิ้มแย้มเป็นมิตรมีไมตรีต่อกัน มีการบริจาคทรัพย์สำหรับเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัว เพื่อให้มีอาหารเพียงพอ มีอาสาสมัครมาช่วยงานทำงานครัวเป็นจำนวนมาก

พิธีกรรม
ประเพณีถือศีลกินเจเป็นประเพณีที่มีการผสมผสานของลัทธิความเชื่อต่าง ๆ หลายลัทธิ ได้แก่ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื่อ ลัทธิการนับถือเทวะ และพุทธศาสนานิกายมหายาน
การประกอบพิธีกรรม
๑. ก่อนพิธีหนึ่งวัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า รมกำยาน ไม้หอม และยกเสาธงเต๊งโก ไว้หน้าศาล เพื่ออัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้า พอถึงเวลาเที่ยงคืนจะประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ และกิวอ๋องไตเต้มาเป็นประธานในพิธี พร้อมกับแขวนตะเกียงน้ำ ๙ ดวง ซึ่งหมายถึงดวงวิญาณขององค์กิวอ๋องไตเต้ เป็นอันว่าพิธีกินเจได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว หลังจากพิธีรับเจ้าเข้ามาเป็นประธานในศาลแล้ว ก็จะทำพิธีวางกำลังทหารรักษาการณ์ตามทิศต่าง ๆ
๒. การเตรียมการกินเจ ผู้ศรัทธาที่จะร่วมถิอศีลกินเจจะทำความสะอาดภาชนะเครื่องใช้ในการประกอบอาหารให้สะอาดหมดกลิ่นคาว จัดแยกเครื่องใช้ไว้เฉพาะไม่ปะปนกับเครื่องใช้ทั่วไป บางบ้านจะนำภาชนะชุดใหม่มาประกอบอาหารและใส่อาหารเจ บางบ้านจะรับอาหารจากโรงปรุงของศาลเจ้า
๓. พิธีกรรมตลอด ๙ วัน ของการกินเจ มีดังนี้
๓.๑ พิธีบูชาเจ้า ทำในวันแรก บูชาด้วยเครื่องเซ่นต่าง ๆ ทั้งที่ศาลเจ้า และที่บ้านของผู้ที่กินเจ เมื่อกินเจครบสามวัน ถือว่าผู้กินเจได้ชำระร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ได้สะอาดบริสุทธิ์
๓.๒ พิธีโขกุ้น เป็นพิธีเลี้ยงทหารที่รักษาการณ์ตามทิศต่าง ๆ จะทำพิธีในวัน ๓ ค่ำ ๖ ค่ำ และ ๙ ค่ำ มีอาหารและเหล้าเซ่นสังเวยเลี้ยงทหาร
๓.๓ พิธีซ้องเก็ง เป็นพิธีการสวดมนต์ พิธีนี้จะเริ่มตั้งแต่องค์กิวอ๋องไตเต้ เข้ามาประทับในศาลและจะกระทำกันทุก ๆ วันวันละ ๒ ครั้ง ในตอนเช้าและตอนค่ำ
๓.๔ พิธีบูชาดาว จะทำในคืนวัน ๗ ค่ำเพื่อขอความคุ้มครองให้แก่ผู้กินเจ ในพิธีบูชาดาว จะมีการแจกฮู้ (กระดาษยันต์) เพื่อคุ้มครองผู้กินเจ
๓.๕ พิธีแห่เจ้า (ออกเที่ยว) เป็นพิธีที่เจ้าทั้งหมดออกเยี่ยมลูกหลานตามบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลและปัดเป่าความชั่วร้าย ศาลเจ้าแต่ละโรงจะออกเยี่ยมไม่พร้อมกัน พิธีนี้จะจัดเป็นริ้วขบวน แห่แหนไปตามถนนสายต่าง ๆ บรรดาชาวบ้านที่จะศรัทธาจะตั้งโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้ไว้รับพระและจุดประทัดเมื่อขบวนผ่าน เจ้าองค์ที่เข้าประทับทรงจะแสดงอิทธิฤทธิ์อภินิหารโดยใช้ของมีคม เหล็กแหลม ทิ่มแทงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
๓.๖ พิธีลุยไฟ เพื่อแสดงอิทธิฤทธิ์ของเจ้า จึงมีการก่อกองไฟให้เป็นถ่านแดงระอุร้อน เจ้าที่เข้าประทับคนทรงจะเข้าไปวิ่งลุยผ่านกองไฟ เพื่อแสดงให้เห็นความบริสุทธิ์และอิทธิฤทธิ์ ผู้ที่ถือศีลกินเจก็จะเข้าไปลุยไฟด้วยเพื่อให้ไฟทิพย์ชำระร่างกายให้บริสุทธิ์
๓.๗ พิธีส่งพระ ทำกันในวันสุดท้ายของการกินเจ พิธีนี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือภาคกลางวันจะส่งเทวดาเง็กเซียนฮ่องเต้ ซึ่งทำกันที่เสาธง และภาคกลางคืนจะส่งองค์กิวอ๋องไตเต้ ซึ่งจะทำกันตอนเที่ยงคืน โดยผู้กินเจจะเดินไปส่งกันที่ฝั่งน้ำเพราะเจ้าจะกลับสวรรค์ทางทะเล และทันทีที่คณะส่งเจ้าออกพ้นประตูศาลไฟทุกดวงจะต้องดับสนิท แล้วปิดประตูใหญ่ รุ่งขึ้นจะลดเสาธง เรียกทหารพร้อมกับเลี้ยงทหารและส่งกลับ เสร็จแล้วก็เปิดประตูใหญ่เมื่อได้ฤกษ์ตามวัน/เวลาที่เจ้าสั่งไว้

   

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีอาบน้ำคนแก่


ประเพณีอาบน้ำคนแก่


    ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เดือนเมษายน (เดือน ๕) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวันเวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม

ความสำคัญ
ประเพณีอาบน้ำคนแก่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือ แก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกูล รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

พิธีกรรม
๑. การขอขมา
เมื่อเชิญคนแก่ทั้งหลายนั่งในโรงพิธีเรียบร้อยแล้ว ลูกหลานและชาวบ้านที่มาร่วมพิธี จะรวมกลุ่มยืนอยู่ด้านหน้าของคนแก่ทั้งหลาย ผู้นำในพิธีนำดอกไม้และจุดธูปเทียนพนมมือ แล้วกล่าวขอขมา ทุกคนว่าตามดังนี้
"กายกรรมสาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม หากข้าพเจ้าทั้งหลายเกิดประมาทพลาดพลั้งแก่ท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ขอให้ท่านอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด และขอได้โปรดอำนวยพรให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีความสุขความเจริญตลอดไป และขอตั้งจิตอธิษฐานขอให้ท่านเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดไป
๒. พิธีการอาบน้ำ
การอาบน้ำเป็นการตักน้ำมารดอาบให้คนแก่จนเปียกโชกทั้งตัว ปัจจุบันบางหมู่บ้านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการในการอาบน้ำ มารดน้ำที่มือทั้งสองของคนแก่แทนเพราะคนแก่ที่มีอายุมาก มีลูกหลานและผู้ที่เคารพนับถือมาก พิธีการอาบน้ำต้องใช้เวลานานจึงแล้วเสร็จ คนแก่เหล่านั้นอาจรู้สึกหนาวสะท้าน ซึ่งเป็นเหตุให้เจ็บป่วยเป็นไข้ได้
ลูกหลานจะเข้าแถวตักน้ำที่เตรียมไว้ในโอ่ง มารดที่มือหรือที่ตัวคนแก่ และมอบเครื่องนุ่งห่มเครื่องใช้ให้คนแก่พร้อมกับขอพร คนแก่ก็จะให้พรลูกหลาน การอาบน้ำจะทำไปตามลำดับจนครบทุกคน
เมื่อเสร็จพิธี ลูกหลานจะนำเสื้อผ้าชุดใหม่มาผลัดเปลี่ยนให้คนแก่ ทาแป้ง หวีผม แต่งตัวให้ เป็นอันเสร็จพิธีการอาบน้ำ

สาระ
ประเพณีอาบน้ำคนแก่ เป็นภูมิปัญญาในการเชื่อมสายใยของครอบครัวให้สาระสำคัญหลายประการคือ
๑. เป็นประเพณีที่มีบทบาทในการควบคุมคนในสังคมให้วางตนให้เหมาะสมตามฐานะของคน คือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเพื่อให้คนเคารพนับถือ เมื่อเป็นผู้น้อยก็ต้องแสดงความเคารพ และมีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ
๒. เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ซึ่งได้แก่ คนแก่ในตระกูล บิดามารดา ตลอดจนผู้ที่ตนเคารพนับถือทั้งหลาย
๓. เกิดความผูกพันในวงศาคณาญาติ สร้างความสนิทสนมกลมเกลียวรักใคร่กันในตระกูลยิ่งขึ้น การพบปะกันในระหว่างญาติพี่น้อง สร้างความอบอุ่นปลาบปลื้มใจให้แก่คนแก่ของตระกูลที่ได้เห็นความเป็นปึกแผ่นของลูกหลาน



แหล่งที่มา

                                                      

                                                           แหล่งที่มาเนื้อหา
          
1.http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0672


2.http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/01/contents/culture_south1.html


3.http://poompanyapaktai.freevar.com/About_Knowledge/knowledge_tradition.html


4.http://www.zazana.com/Article/id7256.aspx




      
      


เเหล่งที่มารูปภาพ
.
1.http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538717301&Ntype=4http://ww

3.http://www.siamzip.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1243%3A2010-09-21-03-00-16&catid=67%3A2009-09-28-07-34-57&Itemid=157&lang=th
 
ประเพณีลากพระ






                                                




               
ช่วงเวลา :
         
วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ :
        
เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้า ประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
พิธีกรรม :
        
 ๑. การแต่งนมพระ
        
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค
มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลาย
ระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อย
ระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจง
ดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
         
 ๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
         
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระแล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไป
ดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑  ชาวบ้าน จะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญ
พระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์
เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
         
 ๓. การลากพระ
         
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ  คนลาก
จะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง  บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
        
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
        
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
        
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ
 

ประเพณีสารทเดือนสิบ   

 

            ประเพณีสารทเดือนสิบ  เป็นประเพณีที่สำคัญของชาว
ภาคใต ้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีที่ได้รับ
อิทธิพลมาจากอินเดีย และได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่
ครั้งโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ประเพณีสารทเดือนสิบมี
พื้นฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่า ในวันแรม    ค่ำเดือนสิบ  พญายมจะปล่อย เปรต”  จากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ และให้กลับขึ้นสู่นรกในวันแรม ๑๕  ค่ำ เดือนสิบ  โอกาสนี้
ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญ  อุทิศส่วนกุศลให้กับ
พ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว งานบุญนี้ถือว่า เป็นงานสำคัญวันหนึ่งวงศ์ตระกูล ในอันที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาจิต
ต่อบรรพชน  เป็นงานรวมญาติรวมความรัก  แสดงความสามัคคี เป็นการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นบรรดาญาติพี่น้องจากทั่วทุกสารทิศ
ก็จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมทำบุญ
ในประเพณีที่สำคัญนี้
ความมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบ :
           
ประเพณีสารทเดือนสิบ  มีความมุ่งหมายสำคัญ
อยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิต
ของชาวนครศรีธรรมราชเป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนา
ในสังคมเกษตรกรรมจึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย 

  
๑) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว 
  
๒) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิต
ทางการเกษตรแปรรูปเป็นอาหาร
ถวายพระสงฆ์ รวมถึงการจัดหฺมฺรับถวายพระในลักษณะ
ของ  “สลากภัต”  นอกจากนี้ยังถวายพระในรูปของผลผลิต
ที่ยังไม่แปรสภาพ  เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ในช่วง
เข้าพรรษาในฤดูฝน  ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองครอบครัว  และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
          
  ๓) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริง
ประจำปี  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณีของชาวนคร  แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด  ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่
ทุก ๆ ปี  เรียกว่า  “งานเดือนสิบ”  ซึ่งงานเดือนสิบนี้
ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ  มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466  จนถึงปัจจุบัน