วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประเพณีการแข่งโพน

ประเพณีการแข่งโพน



       
จังหวัด :   พัทลุง
ช่วงเวลา    ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ
ความสำคัญ :
           
วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศ
ให้ชาวบ้านรู้ว่า ทางวัดจะจัดให้มีการชักพระ ต่อมามีการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น การท้าพนันกันบ้างว่า ผู้ตีโพนคนใดเรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพนกันขึ้น
ในระยะ แรก ๆ เข้าใจว่า คงตีแข่งขันภายในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ ทำให้มีการแข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง และกลายเป็นประเพณีท้องถิ่น
ที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็น กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง
พิธีกรรม :
           
การแข่งโพนแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ
           
๑. แข่งมือ ตัดสินให้ผู้ตีที่มีกำลังมือดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยให้ตีจนผู้ใดอ่อนล้าก่อน
เป็นฝ่ายแพ้ ปัจจุบันไม่นิยมเพราะทำให้เสียเวลามาก
           
๒. แข่งเสียง ตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ  การแข่งขันจะเป็นแบบ
พบกันหมดหรือแพ้คัดออกก็ได้ จับสลากแข่งขันเป็นคู่ ๆ  ใช้ผู้ตีฝ่ายละ ๑ คน กรรมการ ๓ - ๕ คน ตัดสินให้คะแนน โดยอยู่ห่างจากสถานที่ตีไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ณ สถานที่ตี กรรมการควบคุมการตีและคุมเวลา เรียกคู่โพนเข้าประจำที่ ลองตีก่อน
ฝ่ายละประมาณ ๓๐ วินาที เพื่อดูว่าโพนฝ่ายใดมีเสียงทุ้ม และโพนฝ่ายใดมีเสียงแหลม จากนั้นเริ่มให้ทั้งคู่ตีพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากจะใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ นาที ขณะที่โพนกำลังตีแข่งขันอยู่นั้น กรรมการฟังเสียงทั้งหมดจะตั้งใจฟังเสียงโพน
แล้วตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการ
เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
สาระ :
           
การแข่งขันโพน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับพิธีการทางศาสนา
บางประการแล้ว กิจกรรมการละเล่นชนิดนี้ยังช่วยให้มองเห็นการแสวงหาความสุข ความบันเทิงใจ อีกทั้งยังเป็นสื่อในการประสานความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ชาวบ้าน
มีโอกาสพบปะสัมพันธ์กัน เป็นกิจกรรมการละเล่นที่สำคัญนำมาสู่การสร้างสรรค์ ความสามัคคีในชุมชน จึงควรอนุรักษ์ให้ การละเล่นชนิดนี้คงอยู่ตลอดไป


สมาชิกในกลุ่ม

1. ด.ช. รอมดอล   หวังกุหลำ    เลขที่ 2
2. ด.ช. อิทธรัศน์   แขวงเส็น     เลขที่ 4
3.ด.ญ. สุญาณี      หวังกุหลำ    เลขที่ 8
4. ด.ญ. นูรอัยนี     หลีดินซุด    เลขที่ 17
5.ด.ญ. มารีน่า       หลังเกตุ      เลขที่ 34
6. น.ส. เมวียา       หมาดสุเรน  เลขที่ 28
7.ด.ญ. สาธิตา      แกสมาน     เลขที่ 21
8.ด.ญ. ศิริลักษณ์  สงรักษ์       เลขที่ 25

ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย

ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย

        

 ช่วงเวลา ประเพณีการแข่งเรือกอและและเรือยาวด้วยฝีพาย
หน้าพระที่นั่ง ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ กันยายน
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
ความสำคัญ :ในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งจะทรงเยี่ยมเยียนราษฎร
ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงทุกหมู่เหล่า ทรงวางโครงการ
น้อยใหญ่เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็น
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาส
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและ
อันเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดนราธิวาส  ถวายทอดพระเนตร
เพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและเป็นการฟื้นฟู
ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย หน้าพระที่นั่ง และทรงมี
พระบรมราชานุญาตให้จัดการแข่งขันเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙
อีกทั้งได้พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมเรือที่ชนะการแข่งขันด้วย
สาระ : การแข่งขันใช้เรือกอและระยะทาง ๖๕๐ เมตร ผู้ควบคุมลำละ ๑ คน
จำนวนฝีพายรวมทั้งนายท้ายไม่เกินลำละ ๒๓ คน และมีฝีพายสำรอง
ไม่เกินลำละ ๕ คน  การเปลี่ยนตัวในแต่ละเที่ยวทำได้เที่ยวละไม่เกิน ๕ คน ทั้งนี้ให้ผู้ควบคุมทีมประจำเรือแจ้งให้คณะกรรมการปล่อยเรือทราบ
เรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องถึงจุดเริ่มต้น (จุดปล่อยเรือ) ก่อนเวลาที่กำหนด
แข่งขันในรอบนั้น หากไปช้ากว่ากำหนดเกิน ๑๕ นาที ถือว่าสละสิทธิ์
จะปรับแพ้ในรอบนั้นได้ ก่อนการได้ยินสัญญาณ ณ จุดเริ่มต้นฝีพายทุกคน
ยกพายให้พ้นผิวน้ำ  ยกเว้นนายท้ายเรือให้ใช้พายคัดท้ายเรือ
บังคับเรือให้หยุดนิ่ง และจะต้องวิ่งในลู่ของตน  หากวิ่งผิดลู่หรือสายน้ำถือว่า
ผิดกติกาให้ปรับเป็นแพ้ในเที่ยวนั้น เรือที่เข้าถึงเส้นชัยก่อนลำอื่น
โดยถือหัวเรือสุดเป็นการชนะการแข่งขันในเที่ยวนั้น การแข่งขันแบ่งเป็น
๔ รอบ รอบที่ ๑  และรอบที่ ๒ เป็นรอบคัดเลือก รอบที่ ๓ เป็นรอบรองชนะเลิศและรอบที่ ๔ เป็นรอบชิงชนะเลิศ