วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีสารทเดือนสิบ   

 

            ประเพณีสารทเดือนสิบ  เป็นประเพณีที่สำคัญของชาว
ภาคใต ้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีที่ได้รับ
อิทธิพลมาจากอินเดีย และได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่
ครั้งโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ประเพณีสารทเดือนสิบมี
พื้นฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่า ในวันแรม    ค่ำเดือนสิบ  พญายมจะปล่อย เปรต”  จากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ และให้กลับขึ้นสู่นรกในวันแรม ๑๕  ค่ำ เดือนสิบ  โอกาสนี้
ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญ  อุทิศส่วนกุศลให้กับ
พ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว งานบุญนี้ถือว่า เป็นงานสำคัญวันหนึ่งวงศ์ตระกูล ในอันที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาจิต
ต่อบรรพชน  เป็นงานรวมญาติรวมความรัก  แสดงความสามัคคี เป็นการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นบรรดาญาติพี่น้องจากทั่วทุกสารทิศ
ก็จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมทำบุญ
ในประเพณีที่สำคัญนี้
ความมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบ :
           
ประเพณีสารทเดือนสิบ  มีความมุ่งหมายสำคัญ
อยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิต
ของชาวนครศรีธรรมราชเป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนา
ในสังคมเกษตรกรรมจึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย 

  
๑) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว 
  
๒) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิต
ทางการเกษตรแปรรูปเป็นอาหาร
ถวายพระสงฆ์ รวมถึงการจัดหฺมฺรับถวายพระในลักษณะ
ของ  “สลากภัต”  นอกจากนี้ยังถวายพระในรูปของผลผลิต
ที่ยังไม่แปรสภาพ  เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ในช่วง
เข้าพรรษาในฤดูฝน  ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองครอบครัว  และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
          
  ๓) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริง
ประจำปี  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณีของชาวนคร  แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด  ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่
ทุก ๆ ปี  เรียกว่า  “งานเดือนสิบ”  ซึ่งงานเดือนสิบนี้
ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ  มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466  จนถึงปัจจุบัน







1 ความคิดเห็น: